มีหลายบัญชีไปทำไม?

                มนุษย์เงินเดือนต้องรู้!!!

        เพราะทุกคนมีภาระค่าใช้จ่ายไม่น้อยที่จะต้องรับผิดชอบใช่ไหมหล่ะคะ เช่น ค่าบ้าน ค่าบัตรเครดิต ค่างวดรถ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้จ่ายเงิน หรือไม่เคยจดบัญชีรายรับรายจ่ายเลย ก็อาจจะทำให้เผลอใช้เงินจนหมดกระเป๋า 

        ยกตัวอย่างง่าย ๆ เงินเดือนที่คุณจะได้รับนั้น สำหรับบางบริษัทอาจจะแบ่งการจ่ายเงินเดือนออกเป็น 2 รอบ คือ รอบกลางเดือนและสิ้นเดือน ในบางครั้งการที่เราไม่ได้รับเงินก้อนแค่รอบเดียว มันอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เราชะล่าใจในการใช้จ่ายเงิน นำมาซึ่งการจัดสรรปันส่วนที่ไม่เป็นระบบ คิดได้อีกทีก็เปย์หมดไม่เหลือเงินเก็บออมแล้ว หากคุณเจอกับเหตุการณ์ที่ทิสโก้ออโต้แคชเล่ามา ในแต่ละเดือนต้องใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเหลือ ลองใช้วิธีการเปิดบัญชีหลาย ๆ บัญชีไว้ช่วยวางแผนทางการเงินสิคะ

        สำหรับวิธีวางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนที่แนะนำให้เราเปิดบัญชีมากกว่า 1 บัญชีเป็นเทคนิคบริหารเงิน ไม่ต้องเป็นภาระใคร โดยการเก็บออมเงินมากกว่าเพียงแค่ 1 บัญชีนี้จะช่วยให้เรามีเงินเหลือไว้ใช้จ่าย 

 

        มาถึงตรงนี้แล้ว เพื่อน ๆ อาจจะยังสงสัยว่า ทำไมมนุษย์เงินเดือนควรมีบัญชีธนาคารหลาย ๆ บัญชี แล้วในแต่ละบัญชีนั้นมีหน้าที่อย่างไร ? แล้วแต่ละบัญชีใช้เก็บเงินอย่างไร บัญชีไหนควรเก็บเงินส่วนไหนบ้าง บัญชีไหนมีไว้เพื่ออะไร ในวันนี้ เรามาทำความรู้จักกับบัญชีแต่ละประเภทเพื่อที่คุณจะได้รู้ว่า หากคุณต้องการนำเงินส่วนนี้ไปทำอะไร คุณจะต้องเปิดบัญชีประเภทไหนกันบ้าง เดี๋ยวทิสโก้ออโต้แคชจะเล่าให้ฟัง ดังนี้

 

1. บัญชีที่ใช้จ่ายทั่วไป 

        มาเริ่มวางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนเป็นบัญชีที่คุณต้องมีแน่นอน ซึ่งตามชื่อก็บอกได้เลยว่า มีไว้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นใช้เพื่อเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าจิปาถะ หากมีเงินเหลือในส่วนนี้ ก็อาจจะให้รางวัลตัวเอง เช่น การไปชอปปิง หรือท่องเที่ยว เป็นการเติมเต็มความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ  ประเภทบัญชีที่เหมาะกับวัตถุประสงค์เหล่านี้ก็คือ บัญชีออมทรัพย์ ที่สามารถเบิกถอนออกมาเพื่อใช้จ่ายได้บ่อยครั้ง เน้นความสะดวกคล่องตัวในการใช้งาน

2. บัญชีสำหรับชำระหนี้ 

        เพื่อให้การวางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนไม่ผิดแผนเราจะต้องมีเป็นบัญชีสำหรับชำระหนี้ค่ะ เพราะเป็นบัญชีที่มีประโยชน์มาก ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ ทุกครั้งที่เงินเดือนออกต้องนำมาเข้าบัญชีนี้เลย ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ค่าบ้าน ค่าผ่อนงวดรถ ฯลฯ เงินเดือนเหลือจากส่วนนี้เท่าไหร่ค่อยจัดสรรปันส่วนไปใส่ในบัญชีอื่น ๆ ถ้ามีบัญชีนี้แล้วคุณยึดมั่นทำมันอย่างเสมอ รับรองว่าคุณจะไม่เสียเครดิต ผิดนัดชำระหนี้อีกเลยยย จะให้ดีที่สุดไม่ควรมีหนี้สินเกิน 40% ของรายได้นะคะ เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ก็ไม่ควรมีหนี้เกิน 12,000 บาท

3. บัญชีที่ไว้สำหรับเก็บออม

มาถึงบัญชีที่ 3 ต้องแบ่งไว้เพื่อการเก็บออม เราควรวางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนมีการแบ่ง 3 ระยะของการเก็บออมค่ะ ได้แก่ 

  • ระยะสั้น บัญชีที่ไว้สำหรับสำรองเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน จากสถานการณ์ ของโรคระบาด COVID-19 หลายท่านคงเห็นแล้วว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ทุกเมื่อ บางท่านอาจถูกลดเงินเดือน หรือ บุคคลในครอบครัวที่ช่วยแบกรับภาระได้รับผลกระทบจากเหตุการนี้ ส่งผลให้การเงินต้องสะดุด ซึ่งหากเรามีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เราก็จะสามารถผ่านพ้นปัญหาเหล่านี้ไปได้

  • ระยะกลาง หากวัตถุประสงค์ในการเก็บเงินนั้น จะเกิดขึ้นภายใน 5 ปี ข้างหน้า เช่น การวางแผนแต่งงาน วางแผนมีลูก ซื้อบ้าน หรือลงทุนในธุรกิจ ฯลฯ  ประเภทบัญชีที่แนะนำก็คือ บัญชีเงินฝากประจำ ซึ่งนอกจากเราจะได้เก็บเงินแล้ว เรายังได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์อีกด้วย

  • ระยะยาว คือการออมเงินเพื่ออนาคต ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจาก 5 ปีเป็นต้นไป  การวางแผนเกษียณ โดยการเปิดบัญชีเพื่อกองทุนระยะยาว อย่างเช่น RMF ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เรามีโอกาสได้เพิ่มพูนเงินที่มีอยู่ให้มากขึ้น แต่การลงทุนในแต่ละประเภทนั้น ควรศึกษาและเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง เมื่อเกษียณไปแล้วเราจะได้มีเงินใช้ที่แน่นอนในยามชรา เกษียณแบบสุขสันต์จะไม่ใช่เพียงแค่ความฝัน จะเกิดขึ้นจริงได้ หากเรามีการวางแผน เตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้า

        ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ได้เลย หากเริ่มลงมือทำได้เร็ว นั่นก็แปลว่าเรามีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง หรือจะอยากหาเงินเพิ่มก็อ่านบทความ 6 อาชีพเสริม เพิ่มรายได้สู้โควิด ทิสโก้ออโต้แคชเขียนไว้บอกเล่าเพื่อน ๆ แล้วค่ะ

        หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หรือต้องการสมัครสินเชื่อ สามารถปรึกษาทิสโก้ ออโต้แคช ได้ที่ไลน์แอด @TISCOautocash หรือโทร. 02-633-6000 กด 3